วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เรื่อง1

"ในเวลาที่เราต้องการความเปลี่ยนแปลง
การคิดเริ่มทำอะไรใหม่ๆ ทำอะไรใหม่ๆ
ย่อมได้ อะไรที่เปลี่ยนแปลง"

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ป.พ.พ. มาตรา432

ป.พ.พ. มาตรา432
ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นโดย ร่วมกันทำละเมิด ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสิน ไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณี ที่ไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้น คนไหน เป็นผู้ก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วย
อนึ่ง บุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทำละเมิด ท่านก็ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำละเมิดร่วมกันด้วย
ในระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่โดยพฤติการณ์ ศาลจะวินิจฉัยเป็นประการอื่น

1.มีคนหลายคน ไปทำละเมิด
2.ให้รับผิดร่วมกันทุกคน
3.ในกลุ่มนั้นไปทำละเมิด คนในกลุ่มต้องร่วมรับผิด ถึงไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้น คนไหน 
4.คนที่บุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทำละเมิด ถือว่าร่วมกันด้วย
5.ความรับผิดให้แบ่งเป็นส่วนๆ ใครทำก็รับไป เว้นแต่โดยพฤติการณ์ ศาลจะวินิจฉัยเป็นประการอื่น 

วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ป.พ.พ.มาตรา 430

ป.พ.พ.มาตรา 430
ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือ บุคคล อื่น ซึ่ง รับดูแล บุคคล ผู้ไร้ความสามารถ อยู่เป็นนิตย์ ก็ดี ชั่วครั้งคราว ก็ดี จำต้องรับผิด ร่วมกับ ผู้ไร้ความสามารถ ในการละเมิด ซึ่ง เขาได้กระทำลง ในระหว่าง ที่อยู่ ในความดูแล ของตน ถ้าหาก พิสูจน์ได้ว่า บุคคล นั้นๆ มิได้ใช้ ความระมัดระวัง ตามสมควร

ในมาตรา 430 จะเห็นได้ว่า มีองค์ประกอบอยู่ 
1.ต้องมีคนที่รับดูแล ด้วยการจ้าง ด้วยอำนาจกฏหมาย ที่สำคัญคือ ต้องมีคนรับดูแล
2.ต้องมีผู้ไร้ความสามารถ และผู้ไร้ความามารถไปทำละเมิด
3.หลักการ ผู้รับดูแล ต้องเข้าไปร่วมกันรับผิด เพราะอยู่ในความดูแลของตน
4.ข้อนี้เป็นหน้าที่ของ ผู้ถูกทำละเมิด ต้องพิสูจน์ว่า ผู้ดูแล ไม่ได้ใช้ความระมัดระวัง

มาตรา430 
ตัวผู้ดูแล ยังไม่ต้องร่วมรับผิด จนว่าจะพิสูจน์ได้ว่า ไม่ได้ใช้ความระมัดระวัง ในการดูแล 


วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การคัดพันธ์ุข้าว

8 ข้อให้การทำพันธ์ุข้าว
1.การเลือกแปลงนาสำหรับคัคพันธุ์
2.การเตรียมดิน
3.การตกกล้า
4.การปลูกข้าว
5.การควบคุมระดับน้ำ
6.การกำจัดต้นพันธุ์ปุน
7.การเก็บเกี่ยว
8.การทำความสะอาดพันธุ์ข้าว

ข้อ1
การคัดเลือกที่ปลูก ควรเป็นที่มีน้ำดี ดินที่มีค่า ph 5.5-6.5 และบริเวณนั้นรอบๆแปลงพันธุ์ควร สะอาด ตัดหญ้า ไม่ติดกับแปลงปลูกข้าวอื่นมาก ระยะ 3 เมตร อย่างน้อย แปลงที่ปลูกไม่เคยหว่านกล้าข้าวมาก่อน
ข้อนี้ หลักใหญ่ๆ ดินดี น้ำดี และลดข้าวที่จะป่นให้มากที่สุด

ข้อ2
การไถดิน เพื่อตากหน้าดิน กลบหญ้าเพิ่มธาตุอาหาร
การทำเทือก การปรับดินให้เสมอ การล้อให้ข้าวป่นออกมาก่อน

ข้อ3
การตกกล้า ให้เลือกพันธุ์ข้าว (พันธุ์ขยาย) และคัดเลือกพันธุ์มาอย่างดี
หว่านพันธุ์ข้าวเป็นแปลง หรือในถาดเพาะ ระยะเวลาปกติ 1 เดือนนับแต่เริ่มเพาะ

ข้อ4
การปลูก การดำ ปลูกให้กำหนดเป็น แถว 30*30 เซนติเมตร เพื่อให้มีแสง ให้รากมีพื้นที่ มีระยะการแตกกอ ลดโรค และกล้าที่ปักดำ ให้ใช้ 1 ต้นต่อหลุม

ข้อ5
ระดับน้ำ เป็นตัวกำนหดการแตกกอ ช่วยคุมหญ้า
ในระยะแรกระดับน้ำ 3-5 เซนติเมตร  30 วัน
ในระยะสองให้ปล่อยน้ำออก ให้ดินแห้ง ช่วยในการแตกกอ เป็นเวลา 7-10 วัน ทำสลับกันในช่วงแตกก่อ
ในระยะสามระดับน้ำ 5 เซนติเมตร เพราะช่วงนี้ข้าวเริ่มตั้งท้อง
ในระยะสี ข้าวแก่แล้ว ปล่อยน้ำออก

ข้อ6
การกำจัดต้นพันธุ์ปน
ข้อนี้ ต้องมีการกำจัดทุกระยะ เริ่มเตรียมดิน ในระยะต้นกล้า ก่อนปลูก แตกกอ ก่อนออกรวง
ในคัดกอที่เป็น ทรงกอแผ่กว่าง กาบใบมีม่วง ต้นที่เป็นโรค ต้นที่มีสีข้อดำ ออกรวงก่อน ดอกมีหางยาว
ออกรวงช้า เมล็ดเปลือกสีดำปน ต้นสูง สีเปลือกต่างกัน ต้นเป็นโรคราดอกกระถิน ข้อนี้สำคัญมาก เพื่อไม่ให้มีพันธุ์ข้าวปน

ข้อ7
เก็บเกียว ดูจากระยะพันธุ์ข้าวนั้นๆ ดูจากวันออกดอก ดูจากเมล็ดข้าวแก่90%
วิธีการ เก็บเกียว ใช้เครื่องจักร ใช้คนงาน การใช้เครื่องจักรจะมีโอกา่สปนสูง
ควรใช้แรงงานคน เกียว นวด

ข้อ8
เมื่อนวดได้เมล็ดข้าว ให้เป่ากำจัดเศษชังข้าว เมล็ดข้าวลีบ
ตากแดดเพื่อให้มีความชื้น 14%
เก็บเมล็ดข้าวลงกระสอบ เขียนชื้อ เก็บในการอากาศถ่ายเท ไม่มีความชื้น ไม่มีหนู
และส่งเมล็ดข้าวไปตรวจ (2กิโล)






วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

วิถีเกษตรกร

ที่คิดชื่อเรื่อง วิถีเกษตรกร ได้เห็นว่า มีผู้คนมากมายหลายคนที่กำลังสนใจ การเกษตร ในชนบท มีความคิดอยากกลับมาทำการเกษตรที่บ้านเกิด แต่ทางที่จะมามันเป้นแบบไหน วิถีชีวิต มันจะมีความสวยงามเหมื่อนที่คิดไว้ไหม การกำหนดเรื่องต่าง การว่างแผน ตอนนนี้คงเป็น คำถามที่คิดไม่ตก ว่าออกจากงานจะทำได้ไหม จะอยู่รอดได้ไหม
.................................................................................................................................................................
มาดูวิถีชีวิตที่ กำลังทำอยู่
การกลับมาทำการเกษตร บนที่ดินเกิดของตน ให้เริ่มจาก การมีกำลังใจที่มั่งคง มีเป้าหมายที่ชัดเจน และการมีรายได้ที่เลี้ยงชีวิตได้บ้างก่อนในช่วงแรก มาดูกันเลยว่า เริ่มแบบไหน ถึงมันจะไม่ใช่แบบสำเร็จว่าทุกคนจะมาทำความจะสำเร็จได้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น
1.การมีเป้าหมายในทางที่จะทำ เห็นเป้าหมายชัดเจน ชัดมากและ คิดภาพนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก
2.การลองทำ การทำที่มีขนานเล็กพบเรียนรู้ (ต้องมีองค์ความรู้บ้างแล้วนะครับ)
3.เมื่อลองทำแล้ว ควรไปหาอาจารย์ที่เก่ง ไม่ขอเป็นนักเรียนกับอาจารย์ เพื่อเรียนรู้
4.ห้ามทำเป็นธุระกิจ คือห้ามลงทุนมาก ให้ทำเพื่อยังชีวิตก็ เอาชีวิตให้รอดก่อน (ปลูกกินเอง)
5.ต้องไปหากลุ่มคน ข้อนี้กับข้อ3 จะมาด้วยกันก็ได้ การสร้างกลุ่ม กลุ่มจะเป็นที่สร้างโอกาสให้พัฒนาตนเองได้
6.การเสนอขาย ในชุมชน ให้ผู้ขาย เอง ขายเองไม่ต้องผ่านใคร (ห้ามขายในเว็ป)
7.รับฟัง ความคิดของ ตลาด และปรับแผน ผลิต ตอนนี้ อาจจะทำเป็นธุระกิจก็ได้ เพราะ ตลาดมีแล้ว
ผลิตมากน้อยอยู่ที่ ตลาดเป็นตัวนำ
8.ถ้าต้องการเงินทุน ให้ออกหุ้นส่วน ก่อนคิดที่จะไปกู้เงินธนาคาร (เงินรัฐที่ช่วยโครงการเกษตรให้ไปดูที่นี้ก่อน)
9.พอทำมาถึงนี้ได้ เริ่มจะอยู่ได้แล้ว แต่งานจะหนักมากกว่า การทำงานประจำ เพราะ หน้างาน ต้องดูทั้งหมด เป็นเจ้าของแล้ว
10.ต้องดูเรื่องการผลิต เป็นพิเศษ ใช้เวลาการผลิตให้มากๆๆๆๆ เพื่อสร้างสินค้าให้มีค่า
11.ปัญหาใหญ่เริ่มเข้ามา ผู้คน การผลิต คุณภาพ การส่ง ขาย และเงินที่ต้องจ่ายหนี้
12.ถึงต้องนี้ ต้องคิดเอง